วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555


เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล

 

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึงการติดต่อสื่อสารหรือการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่  2 เครื่องขึ้นไป ผ่านสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารหรือการเชื่อมต่อ ได้ทั้งสื่อกลางแบบมีสายหรือสื่อกลางแบบไม่มีสายก็ได้อาทิเช่น สายเคเบิล หรือผ่านคลื่นวิทยุ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน

  1. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล ประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญดังนี้
     1.1 ข้อมูล (Data) คือ สิ่งที่เราต้องการส่งไปยังปลายทาง เช่น ข่าวสารหรือสารสนเทศ อาจเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ หรือสื่อประสม (Multimedia
     1.2 ฝ่ายส่งข้อมูล (Sender) คือ แหล่งกำเนิดข้าวสาร (Source) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับส่งข้าวสาร ตัวอย่างอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เร้าท์เตอร์ เป็นต้น 
    1.3 ฝ่ายรับข้อมูล (Receiver) คือ จุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับรับข่าวสารที่ส่งมาจากฝ่ายส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ เราท์เตอร์ เป็นต้น
       1.4 สื่อกลางส่งข้อมูล (Media) คือ ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่จะนำเอาข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายส่งข้อมูลไปยังฝ่ายรับข้อมูล
        1.5 โพรโตคอล (Protocol) คือ มาตรฐานหรือข้อตกลงที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารรวมกันระหว่างฝ่ายผู้ส่งกับฝ่ายผู้รับ นั้นก็คือการสื่อสารจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับสารได้เข้าใจสารตรงตามที่ผู้ส่งต้องการหรือไม่
 
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    ด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ซึ่งถือเป็นประโยชน์สูงสุดของการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   ด้านการลดค่าใช้จ่าย คือ เมื่อมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายลง
   ด้านความสะดวกในด้านการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารส่งผลให้การติดต่อเพื่อดำเนินธุรกรรมใด ๆ บรรลุผลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
   ด้านความน่าเชื่อถือของระบบงาน

  ระบบเครือข่ายไร้สาย หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย โดยไม่ต้องผ่านสายสัญญาณ แต่จะมีการส่งข้อมูลผ่านการใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ (Radio Frequency: RF) และคลื่นอินฟราเรด (infrared) แทน โดยระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แบบใช้สายทั่วไป ระบบเครือข่ายไร้สายพัฒนาขึ้น ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยเป็นผลงานของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET”

 
1. ประเภทของเครือข่ายไร้สาย
  การแบ่งประเภทของเครือข่ายไร้สายก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเครือข่ายแบบมีสายทั่วไป โดยนิยมแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
  1.1 ระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล (Wireless Personal Area Network:WPAN) เป็นการใช้งานในลักษณะที่ครอบคลุมพื้นที่จำกัด เช่น อยู่ภายในบ้านพักอาศัย
  1.2 ระบบเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย (Wireless Local Area Network: WLAN)  เป็นการใช้งานในลักษณะที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าประเภทระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล เช่น อยู่ภายในสำนักงานเดียวกัน อาคารเดียวกัน
  1.3 ระบบเครือข่ายเมืองไร้สาย (Wireless Metropolitan Area Network: WMAN) เป็นการใช้งานในลักษณะที่ครอบคลุม
1.4 ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ไร้สาย (Wireless Wide Area Network: WWAN)  เป็นการใช้งานในเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ระหว่างเมืองขนาดใหญ่ ระหว่างประเทศ โดยการสื่อสารลักษณะอย่างนี้จะใช้การสื่อผ่านดาวเทียมแทน ในกรณีที่ข้ามไปต่างประเทศพื้นที่กว้าง เช่น ใช้งานระหว่างองค์กร ระหว่างเมือง
 เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย
  1. สมรรถนะ (Competency)
   1.1 เวลาที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูล
    1.2 จำนวนผู้ใช้งานในระบบเครือข่าย
    1.3 ชนิดสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล
    1.4 อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
    1.5 ซอฟต์แวร์
  2. ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
             2.1 ปริมาณความถี่ของความล้มเหลวในการส่งข้อมูล
         2.2 ระยะเวลาที่ใช้การกู้คืนข้อมูลหรือกู้คืนระบบกรณีเกิดความล้มเหลวขึ้น ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติให้ได้ระยะเวลารวดเร็วที่สุด
       2.3 การป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ระบบเกิดความล้มเหลว เครือข่ายที่ดีต้องมีการป้องกันภัย ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกสถานการณ์
  3. ความปลอดภัย (Security)
      ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดโดยเน้นไปที่ความสามารถที่จะป้องกันบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล หรือระบบเครือข่าย โดยอาจใช้รหัสการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น และความสามารถในการปูองกันภัยคุกคามต่างๆ เช่น การปูองกันไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นเพื่อให้ระบบเครือข่ายมีความปลอดภัยสูงสุด 
 การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. ด้านการติดต่อสื่อสาร
    1.1 บริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bulletin Boards services) หรือ เว็บบอร์ด (Web board)
    1.2 จดหมายและจดหมายเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail and Voice Mail)
    1.3 การประชุมระยะไกลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Teleconference)
   1.4 การสนทนาแบบออนไลน์ การพูดคุยตอบโต้กันในเครือข่ายได้ในเวลาเดียวกัน
2. ด้านการค้นหาข้อมูล      หรือบริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Information services) เป็นประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3. ด้านธุรกิจและการเงิน
   3.1 การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI)
  3.2 การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer -EFT) การทำธุรกรรมทางเงินกับธนาคาร พบได้ในชีวิตประจำวัน
 3.3 การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shopping) บริการการสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิคส์ มีแนวโน้มของการค้าโลกในยุคต่อไป
  4. ด้านการศึกษา
  ปัจจุบันสามารถระบบเครือข่ายมีส่วนช่วยด้านการศึกษาอย่างมากเช่น การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต และการค้นหาความรูปต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
5. ด้านการแพทย์
  ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ มีการนำเอาระบบเครือข่ายเข้าไปใช้งานกันมาก ที่เห็นได้ชัดเจน คือการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ ปัจจุบันสามารถเรียกผ่านอินเทอร์เน็ตได้แล้ว